วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่16

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่16
วันที่ 7 กันยายน 2564


                                                                                 


7 กันยายน 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจาร์ยได้หมอบหมายให้ทำงานกลุ่ม โดยทำเพิ่มเติมในบทที่4 - บทที่5 
    บทที่ 4  ผลการศึกษา
-ผลการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
-ผลการประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
    บทที่ 5  สรุป และข้อเสนอแนะ
-เกริ่นนำ
-ความสำคัญ
-วัตถุประสงค์
-ขั้นตอนการศึกษาโครงงาน
-สรุปผลการศึกษา
-ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
-แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู
-ข้อเสนอแนะ











วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่15

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่15
วันที่ 30 กันยายน 2564


                               


30 กันยายน 2564

                ในสัปดาห์นี้ได้มีการพัฒนาบทเรียนอิเลร์นนิ่งที่เว็บไซด์ : smp.yru.ac.th ของกลุ่มที่ 6 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่14

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่14
วันที่ 23 กันยายน 2564


                         

23 กันยายน 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจาร์ยได้หมอบหมายให้ทำงานกลุ่ม โดยทำเพิ่มเติมในบทที่4 - บทที่5 
    บทที่ 4  ผลการศึกษา
-ผลการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
-ผลการประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
    บทที่ 5  สรุป และข้อเสนอแนะ
-เกริ่นนำ
-ความสำคัญ
-วัตถุประสงค์
-ขั้นตอนการศึกษาโครงงาน
-สรุปผลการศึกษา
-ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
-แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู
-ข้อเสนอแนะ


วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่13

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่13
วันที่ 16 กันยายน 2564

                                              

16 กันยายน 2564

            ในสัปดาห์นี้ได้มีการนำเสนอความคืบหน้าของแต่ละกลุ่ม ในบทที่ 2 - บทที่ 3
กลุ่มที่1 เรื่อง 
บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
        ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์
        ระบบอีเลิร์นนิ่ง
        ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
        เนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
        งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 3  วิธีดำเนินการศึกษา
       การประเมินผล (Evaluation)
        การนำไปใช้ (Implementation)
        การพัฒนา (Development)
        การออกแบบ (Design)
        การวิเคราะห์ (Analysis) 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่12

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่12
วันที่ 9 กันยายน 2564


 9 กันยายน 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจาร์ยได้ให้เวลาในการทำโครงงานอีก 1ครั้ง เพพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป


ผลการเรียนรู้ครั้งที่11

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่11
วันที่ 2 กันยายน 2564


2 กันยายน 2564
        ในสัปดาห์อาจาร์ยได้ให้เวลาในการทำงานกลุ่ม แบ่งงานภายในกลุ่ม ทำโครงงานรายละเอียดดังนี้
บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
        ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์
        ระบบอีเลิร์นนิ่ง
        ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
        เนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
        งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 3  วิธีดำเนินการศึกษา
       การประเมินผล (Evaluation)
        การนำไปใช้ (Implementation)
        การพัฒนา (Development)
        การออกแบบ (Design)
        การวิเคราะห์ (Analysis)


ผลการเรียนรู้ครั้งที่10

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่10
วันที่ 26 สิงหาคม 2564


                                                 

 26 สิงหาคม 2564

        ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้เตรียมข้อสอบตามเรื่องของกลุ่มตัวเองมาคนล่ะ 10 ข้อ เพื่อจะฝึกปฏิบัติผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียน E- learning  และรู้จักเครื่องมือการใช้งานเบื้องต้น


วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่9

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่9
วันที่ 19 สิงหาคม 2564


                                                      
                                                


19 สิงหาคม 2564
ในสัปดาห์นี้ อาจาร์ยได้ทบทวนบทเรียนโดยการเล่นเกมส์ Kahoot ทบทวนความรู้บทที่ 4
 และฝึกปฎิบัติการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ผ่านระบบเว็บไซด์  https://smp.yru.ac.th
        โดยการให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการพัฒนาบทเรียนของกลุ่มตัวเอง รายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่8

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่8
วันที่ 12 สิงหาคม 2564


12 สิงหาคม 2564

        ในสัปดาห์งดการเรียนการสอน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง   

ผลการเรียนรู้ครั้งที่7

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่7
วันที่ 5 สิงหาคม 2564



                                                                  

5 สิงหาคม 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม นำเสนอโครงงาน  ซึ่งมีหัวข้อย่อย ๆ ได้แก่ ความสำคัญและความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยมีทั้งหมด 6 กลุ่ม 
นำเสนอตามลำดับตามอาจารย์กำหนดไว้
        กลุ่มได้นำเสนอ มีดังนี้
 
    กลุ่ม 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

    กลุ่ม 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

    กลุ่ม 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

    กลุ่ม 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

    กลุ่ม 5 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

    กลุ่ม 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการเรียนรู้ครั้งที่6

ผลการเรียนรู้ครั้งที่6
วันที่ 29 กรกฎาคม 2564  



 29 กรกฎาคม 2564  
         ในสัปดาห์นี้ได้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย google meet ซึ่งในสัปดาห์ก่อนหน้านี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปศึกษาโครงงานที่เราจะทำหรือโครงงาน(งานกลุ่ม)และคาบเรียนได้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนและได้ทดสอบโดยใช้ kahoot อาจารย์ได้สอนคู่มือ และการใช้งานบน smp.yru.ac.th เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ในการทำโครงงาน หรือนำความรู้นั้นต่อยอดในการทำโครงงาน

         บทที่ 4 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

     การออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง
การออกแบบอีเลิร์นนิงเริ่มจากการออกแบบการเรียนการสอน  การออกแบบการเรียนการสอน : ADDIE Model และการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง

     การออกแบบการเรียนการสอน: แบบจำลอง ADDIE
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ในการออกแบบระบบการเรียนการสอน ซึ่งมักจะเขียนในรูปแบบของผังแสดงลำดับการทำงาน (Flowchart) เพื่อแสดงรูปแบบให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) โดยรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอนแบบจำลอง ADDIE 

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่5

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่5
วันที่ 22 กรกฎาคม 2564

22 กรกฎาคม 2564

        วัน ที่ 22 กรกฎาคม 2564 ตรงกับวันวันอีฎิ้ลอัดฮา เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ดำเนินการปฏิบัติตามศาสนกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาจึงประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2564 โดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป 

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4 
วันที่15 กรกฎาคม 2564













วันที่15 กรกฎาคม 2564

            ในสัปดาห์นี้เริ่มการเรียนการสอนโดยทบทวนเนื้อหาบทที่2 โดยทำกิจกรรมถามตอบในโปรแกรม kahoot
 และทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่3  และเข้าสู่บทเรียน  บทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ
   
             บทที่3อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ
ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็น นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่มีการออกแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นขั้น ตอนด้วยวิธีการเชิงระบบ โดยกำหนด วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจนสามารถวัดและประเมินผลได้การจัดการเรียนการสอนยึดตามหลักทฤษฎีทางการศึกษาและทฤษฎีการเรียนการรู้รวมถึงหลักจิตวิทยาการศึกษา การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการถ่ายโอนกลยุทธ์การสอน เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือซึ่งในปัจจุบันมักหมายถึงการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารและจัดการเรียนการสอน จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนและเรียนรู้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา เนื้อหาของบทเรียนอีเลิร์นนิ่งอยู่ในรูปแบบของสื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ออกแบบและพัฒนาไว้ในลักษณะของรายวิชาหรือคอร์แวร์(courseware) ประกอบด้วยสื่อผสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และที่สำคัญคือ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนโต้ตอบกับบทเรียนและผู้สอน ซึ่งบทบาทของผู้สอนเน้นการทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำในการเรียนมากกว่าการสอน

ลักษณะของอีเลิร์นนิ่ง
-รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสภาพแวดล้อมที่ใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-เนื้อหาและวิธีการสอนของอีเลิรน์นิ่งจะใช้สื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์(Electronics Multimedia)
-กิจกรรมการเรียนการสอนของอีเลิรน์ นิ่งได้ก าหนดวัตถุประสงค์และออกแบบไว้อย่างอย่างเป็นระบบ
-มีการจัดเตรียม เครื่องมือสนับสนุนในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับระบบ
-มีระบบบริหารการจัดการเนื้อหาและจัดการการเรียนการสอน (Learning Content Management System : LCMS) หรือ ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้(Learning Management System : LMS)
-เป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนการสอนแบบทางไกล (Distance Learning) สามารถเรียนได้ทุก สถานที่ ทุกเวลา ทุกเรื่อง
-เป็นวิธีของการศึกษาแนวใหม่ (new education approaches) เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

องค์ประกอบในการพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบอีเลร์ินนิ่งในองค์กรหรือสถาบัน (Khan)
1. ด้านวิธีสอน (Pedagogical)
2. ด้านเทคโนโลยี (Technological)
3. ด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้(Interface Design)
4. ด้านการประเมินผล (Evaluation)
5. ด้านการบริหารจัดการ (Management)
6. ด้านทรัพยากรสนับสนุน (Resource Support)
7. ด้านจริยธรรม (Ethical)
8. ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ (Institutional)

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่3

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่3

วันที่8 กรกฎาคม 2564















8 กรกฎาคม 2564
    ในสัปดาห์นี้เริ่มการเรียนการสอนโดยทบทวนเนื้อหาบทที่1 โดยทำกิจกรรมถามตอบในโปรแกรม kahoot
 และทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่2  และเข้าสู่บทเรียน  บทที่ 2 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์

     ระบบการเรียนการสอนออนไลน์    

    การเรียนทางไกล (Distance Learning)
เป็นลักษณะการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ต่างสถานที่ ส่งผ่านเนื้อหาการ
เรียนหลายรูปแบบถึงผู้เรียนด้วยช่องทางหลากหลาย
    อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) 
ในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ LMS or CMS จัดการหลักสูตร วิชา ผู้สอน ผู้เรียนประเมินผล โดยออกแบบและพัฒนาอย่างเป็นระบบเป็นห้องเรียนเสมือนหรือมหาวิทยาลัยเสมือน (ในอดีตอาจอยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบออฟไลน์ เช่น เทป วิดิทัศน์ CD-ROM
    การเรียนออนไลน์ (Online Learning)
เป็นการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น e-Learning, MOOC, m-Learning, Social Media    
    การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน (Computer-based Learning) 
หมายถึงการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ เช่น PC, Notebook,
SmartPhone, iPAD, Tablet เป็นต้น

นวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์



วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่2

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่2

วันพฤหัสบดี ที่ 1 กรกฎาคม 2564



1กรกฏาคม 2564

    ในสัปดาห์นี้ได้จัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม ZOOM ในการจัดการเรียนการสอนและอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการเรียนออลไลน์ ได้มอบหมายให้นักศึกษาสรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่2ลงในเว็บบล็อกของตนเอง และได้แบ่งกลุ่มในการทำโครงงาน
    ความหมายของการเรียนการสอน 
การเรียนการสอน หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ ด้วยวิธีการถ่ายทอด หรือวิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน โดยใช้ทั้งศาสตร์ (องค์ความรู้) และศิลป์ (เทคนิคการถ่ายทอด) ของผู้สอน
    ความหมายของการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กิจกรรมของบุคคลซึ่งมีหลักและเหตุผล เป็นกิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเอง อย่างสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้
    ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน
ระบบหรือรูปแบบการเรียนการสอน เป็นกรอบแนวทางหรือกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วยวิธีการสอน ที่ผู้สอน
ได้กําหนดหรือออกแบบไว้ ซึ่งประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน จะขึ้นกับทฤษฎีการเรียนรู้ โดยทฤษฎีการเรียนรู้เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าผู้คนจะเกิดการเรียนรู้ เกิดความรู้หรือแนวคิดใหม่ 

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่1

  ผลการเรียนรู้ครั้งที่1

วัน พฤหัสบดี ที่24 มิถุนายน 2564 



24 มิถุนายน 2564

วิชาระบบการจัดการเรียนรู้ออลไลน์ ( Onling Learning Managament System )

คาบแรกของรายวิชา  ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์( Onling Learning Managament System ) ปีการศึกษา 2564

    -อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษา ดำเนินการพัฒนาข้อมููลใน blogger ของแต่ละคน

    -อธิบายความสำคัญของการเรียนการสอนในรายวิชา 

    -ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

    การเรียนการสอน หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ ด้วยวิธีการถ่ายทอด หรือวิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียนโดยใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ ของผู้สอน

    การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน

    องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน หลักสูตร สิ่งอำนวยความ สะดวก กระบวนการ (Process) ได้แก่ การดำเนินการสอน การประเมินผล และผลผลิต (Output) ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน