วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น

  ประเพณีของศาสนาอิสลาม

ประเพณีการเกิด

            เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ หญิงผู้มีครรภ์จะไปฝากท้องกับหมอตำแย (โต๊ะบีแด) โดยจัดเครื่องบูชาหมอ ประกอบด้วย หมาก พลู ยาเส้น และเงินตามสมควร การคลอด เมื่อถึงกำหนดคลอด ญาติหรือสามีของหญิงผู้จะคลอด จะไปตามหมอตำแยมาช่วยทำคลอดให้ที่บ้าน ก่อนคลอดต้องเตรียมของต่าง ๆ ประกอบด้วยด้ายดิบหนึ่งขด ข้าวสารจำนวนเล็กน้อย หมาก พลูและเงินตามสมควร เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว หมอตำแยจะชำระล้างทำความสะอาดตัวเด็ก ตัดและผูกสายสะดือ แล้วนำเด็กไปไว้ในถาดใบใหญ่มีผ้าปูรองรับอยู่หลายชั้น แล้วหมอตำแยจะต้มน้ำชำระร่างกายให้แก่ผู้เป็นแม่ แล้วนวดฟั้นทุกส่วนของร่างกาย เพื่อให้เลือดลมเดินสะดวก
หลัง จากต้มน้ำทำความสะอาดตัวเด็กแล้ว บิดาหรือผู้มีความรู้ทางศาสนาทำพิธีอาซานหรือบัง (พูดกรอกที่หูขวา) และกอมัต (พูดกรอกที่หูซ้าย) แก่เด็กเป็นภาษาอาหรับมีความหมายดังนี้
๑. อัลเลาะห์ผู้ยิ่งใหญ่
๒. ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์
๓. ข้าขอปฏิญาณว่านบีมูฮัมมัดเป็นทูตของท่าน
๔. จงละหมาดเถิด จงมาในทางมีชัยเถิด แท้จริงข้าได้ยืนละหมาดแล้ว อัลเลาะห์ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์

พิธีเลี้ยงรับขวัญบุตร (อาแกเกาะห์ อากีกะฮ์หรือพิธีเชือดสัตว์)



            ตามหลักศาสนาอิสลาม การเชือดสัตว์เพื่อให้สัตว์ที่ถูกเชือดนั้นไปเป็นพาหนะในโลกหน้า โดยบัญญัติให้ชาวอิสลามต้องกระทำด้วยการเชือดแพะหรือแกะที่มีอายุครบสองปี ไม่พิการ โดยกำหนดว่าถ้าได้ลูกสาว ต้องเชือดแพะหนึ่งตัว ถ้าได้ลูกชาย ต้องเชือดแพะสองตัว เนื้อแพะหรือแกะที่ถูกเชือดนั้นห้ามขายหรือให้แก่คนต่างศาสนากิน ให้จะจัดและมีขบวนแห่ใหญ่โตเชิญแขกเหรื่อให้มากินเหนียว (มาแกบูโละ) หรือบางรายจัดให้มีการแสดงมหรสพเช่น มะโย่ง ลิเกฮูดูให้ชมด้วย