วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่16

19 มีนาคม 2563



    วันที่ 19 มีนาคม 2563 เนื่องจากทางมหาลัยได้ประกาศหยุดการเรียนการสอนภายในห้องหรือเรียนเป็น
กลุ่มมากกว่า 10 คนขึ้นไป จึงมีการเรียนการสอนแบบออนไลน์และได้มีการสอบปลายภาคเรียนที่2 ด้วยวิธีการสอบออนไลน์
    เนื่องจากเกิดการระบาดของไวรัส covid -19 จึงประกาศตั้งแต่ 17 มีนาคม 2563 เป็นต้นไปหรือจนกว่าการระบาดของไวรัส covid -19 จะคลี่คลาย
    การเรียนการสอนออนไลน์
          1.ทุกคนทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest ให้ได้คะแนนมากที่สุด และให้ครบทุกบท
          2.ปรับแต่ง Weblog ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
          3. เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรม PHP เชื่อมต่อฐานข้อมูล https://elearning.yru.ac.th/mod/folder/view.php?id=8857  เพื่อนำไปเขียนโปรแกรม เพิ่ม ลบ แก้ไข รายงานข้อมูล ในระบบที่กลุ่มพัฒนา นอกจากนั้น ยังสามารถศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรม PHP ได้จากอินเทอร์เน็ต หรือ Youtube Clip

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่15

12 มีนาคม 2563



   วันที่ 12 มีนาคม 2563 ในสัปดาห์นี้ได้มีการนำเสนอความคืบหน้าของโครงงานแต่ละระบบ
ตั้งแต่บทที่1-3
    กลุ่มที่ 6 ระบบห้องพยาบาล Nursing room

    กลุ่มที่ 5  ระบบจัดการหลักสูตรโรงเรียน

   กลุ่มที่ 4 ระบบกิจกรรมนักเรียน

   กลุ่มที่ 3 ระบบงานวินัยนักเรียน

   กลุ่มที่ 2 ระบบทะเบียนประวัตินักเรียน

   กลุ่มที่ 1 ระบบบริหารบุคลากร 
 
                                                                           
     

ผลการเรียนรู้ครั้งที่14

5 มีนาคม 2563

วันที่ 5 มีนาคม 2563  ซึ่งอาจารย์ติดราชการจึงมอบหมายงานให้  โดยแต่ละกลุ่มจองห้องติว ที่ห้องสมุด เพื่อจัดทำโครงงาน ของระบบบริหารบุคลากร

บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญ
            วัตถุประสงค์
            ขอบเขตการศึกษา
            ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2 ความหมายของระบบสารสนเทศ 
            ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
            ความจำเป็นของระบบสารสนเทศในสถานศึกษา

บทที่ 3 การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา 
            การออกแบบระบบ
            การติดตั้งและทดลองใช้ 




วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่13

27 กุมภาพันธ์ 2563


วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้อธิบาย Web Application กับ web service   มีความแตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง Web Application กับ Web Services
          ต่างกัน อันเนื่องจากจุดกำเนิด และ จุดประสงค์ของทั้งสองอย่างนั้น  Web Services นั้นเกิดมาจากการที่ Web Application ถูกพัฒนาได้จากหลาย ภาษา เช่น asp jsp php perl .... ทำให้การที่จะนำมารวมเพื่อร่วมทำงานด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก (เหมือนคุยกันคนละภาษา) Web Services จึงเหมือนกับภาษาสากล ที่ทำให้แต่ละ Web Application ทำงานร่วมกันได้ โดยผ่าน SOAP ที่มี รูปแบบเป็น XML ซึ่งเป็นเหมือนภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Web Services นั้น มีหลายตัว อาทิ เช่น AXIS วิธีทำนั้นก็ไม่ยาก ยิ่งถ้าใช้ IDE จะง่ายมากแค่ คลิก ๆ  ไม่กี่ที่ก็เสร็จแล้ว ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่การสร้าง แต่กลับอยู่ที่การนำไปใช้มากกว่า


  

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่12

20 กุมภาพันธ์ 2563


             วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563  ในสัปดาห์นี้ทางอาจารย์ติดภาระกิจรับรับเสด็จ และได้มอบมายให้นักศึกษา ทำงานกลุ่มตัวเองที่ีได้รับมอบหมาย ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นัดสมาชิกภายในกลุ่มมาทำโครงงาน บทที่1-3 
      บทที่ 1 บทนำ
      บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
      บทที่ 3 วิธีการศึกษา 
ตามแบบฟอร์มในโครงงานที่มอบหมายและได้ทำพอยด์เตรียมนำเสนอ E-R DIAGRAM และ พจนานุกรมข้อมูลในสัปดาห์ถัดไป





วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

13 กุมภาพันธ์ 2563



วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 อาจารย์ได้ให้นักศึกษา ทำแบบฝึกหัดหลังเรียน Posttest  ในบทที่ 2 และ
 ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน Posttest  ในบทที่ 3 กับ บทที่ 4

จากกนั้น ให้นักศึกษาติดตั้งโปรแกรม  xampp  โปรแกรมจำลอง web server ทำให้เราสามารถทดสอบเว็บไซต์ได้โดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และไม่มีค่าใช่จ่ายใด ๆ
https://www.w3schools.com/html/default.asp เว็บไซด์ที่ใช้สำหรับทดลอง และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML   และได้เรียนรู้ภาษา PHP ใช้อย่างไร เเละได้สอนเขียนโปรเเกรมเบื่องต้นเพื่อให้นักศึกษาไปปรับใช้กับงานที่มอบหมาย


 สรุป สิ่งที่ได้รับในวันนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำไปเตรียมความพร้อมต่อการสร้างระบบบริหารบุคลากรเบื้องต้น 



          

ผลการเรียนรู้ครั้งที่10

6 กุมภาพันธ์ 2563


      วันที่ 6กุมภาพันธ์ 2563 ในคาบนี้อาจารย์ได้อธิบายการพัฒนาระบบและวงจรการพัฒนาระบบ (Systeme development life cycle) คือ กระบวนการทางความคิด เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอนรูปแบบวงจรพัฒนาระบบมี 7 รูปแบบ แต่บางหนังสือมี 5 รูปแบบ ได้แก่ 
1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project  Identification)               
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project  Initiating and Planning)                 
3. วิเคราะห์ระบบ (System  Analysis)                 
4. การออกแบบเชิงตรรก (Logic  Design)              
5. การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical  Design)                  
6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System  Implementation)              
7. การซ่อมบำรุงระบบ (System  Maintenance
  
 และในาสัปดาห์นี้มีการนำเสนอของกลุ่มที่เหลือ

กลุ่มที่ 2 เรื่อง จำนวนสถิตินักเรียนระดับ ปวช.ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
         
กลุ่มที่ 4 จำนวนสถิติการศึกษาในระบบและนอกระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีพ.ศ. 2561 (สามจังหวัดชายแดนใต้)      
    การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบ แบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรวิธีการจัดการการเรียนการสอนและวัดผลที่แน่นอน
    การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบที่มุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์



กลุ่มที่ 5 การสอบ 9 วิชาสามัญ
  

กลุ่มที่ 6 ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 – 2561

วัตถุประสงค์
1. เพื่อรู้ผลการสอบ O-NET ในแต่ละปีว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานมากน้อยเพียงใด.
2. เพื่อได้รู้การวัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียนทั่วประเทศ.
3. เพื่อได้รู้ว่าคะแนนการทดสอบในแต่ละปีมีการพัฒนาขึ้นหรือน้อยลง.







ผลการเรียนรู้ครั้งที่9

30 มกราคม 2563


   วันที่ 30 มกราคม 2563  เนื่องจากในคาบนี้อาจารย์ติดภาระกิจ จึงให้แต่ละกลุ่มที่ยังไม่นำเสนอเตรียมความพร้อมในการนำเสนอในคาบหน้าและได้หมอบหมายให้แต่ละกลุมจัดทำโครงงานระบบสารสนเทศในสถานศึกษา การออกแบบฐานข้อมูลจากระบบงานที่ได้เลือกไว้ และจากข้อมูลที่ไปศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนตาเบียร์ตุลวาตันมูลนิธิ 
     การออกแบบฐานข้อมูล ได้แก่ ได้ตารางข้อมูลอะไรบ้าง ในแต่ละตารางมีฟิลด์ (Attribute)  ระบบย่อยมีทั้งหมด 6 ระบบ ตามที่แบ่ง การออกแบบฐานข้อมูลให้ทุกกลุ่มทำร่วมกัน ตารางที่ควรมีและเป็นตารางหลัก ได้แก่ ประวัตินักเรียน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลอาคาร เป็นต้น

ผลการเรียนรู้ครั้งที่8

23 มกราคม 2563

                                                                

ในวันที่ 23  มกราคม 2563
ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการ การพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาห้องพิเศษเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์


กิจกรรมลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการ
การพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน 
ณ โรงเรียนตาเบียร์ตุลวาตันมูลนิธิ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา
----------------------------------------------------------------------------------------------

      รหัสนักศึกษา 406109028     ชื่อ-นามสกุล  นางสาวซัลวา ยูโซ๊ะ
ระบบสารสนเทศสำหรับโรงเรียน ระบบย่อย (Module) ที่รับผิดชอบพัฒนา คือ  ระบบบริหารบุคลากร

ประเด็นการเก็บรวมบรวมข้อมูล

1.      ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน (จำนวนนักเรียน ครู ผู้บริหาร โครงสร้างการบริหาร หรืออื่น ๆ
1.1 จำนวนครู / บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน  150 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นอนุบาล  ชั้นประถม และชั้นมัธยม
1.2 จำนวนนักเรียนทั้งหมด  1600 คน  โดยรวมทั้งหมด ชั้นอนุบาล ชั้นประถม และชั้นมัธยม
2.      ตัวอย่างระบบสารสนเทศ หรือสภาพปัจจุบันในการใช้ระบบสารสนเทศของโรงเรียน
ระบบสารสนเทศของโรงเรียน  ได้แก่
          ระบบตรวจสอบผลการเรียน  ซึ่งได้ใช้ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ทำให้มีรวดเร็วในการทำงาน และมีความทันสมัยมากขึ้น  โดยไม่ต้องปริ้นผลการเรียนติดที่บอร์ด สามารถดูผลการเรียนที่ไหน แล้วเวลาไหนก็ได้
ระบบ RM  (ระบบงานทะเบียนวัดผล) ซึ่งจะมี ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตร แผนการเรียน บันทึกผลการเรียน เอกกสารหลักสูตร
ระบบ DM  (ระบบบริหารงานโรงเรียน / ธุรการ)  สถานศึกษา  นักเรียน
          ระบบช่วยเหลือนักเรียน
          ระบบรับสมัครนักเรียนใหม่ 
3.      ปัญหา และอุปสรรคของการใช้ระบบสารสนเทศในโรงเรียน
ทางโรงเรียน  ปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญ คือ เรื่องฮาร์แวร์ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถจัดการเรียนได้เต็มที ๆ ทำให้นักเรียนขาดพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนมีจำนวนมากของแต่ละห้อง เป็นจัดการเรียนการสอน 2 ระบบ
1. ระบบสมามัญ  ซึ่งระบบสามัญจะไม่มีปัญหาในด้านระบบสารสนเทศ สามารถปรับตัว ในการพัฒนาโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น
2. ระบบศาสนา จะมีปัญหาในด้านระบบสารสนเทศ ไม่สามารถปรับตัว เกิดความยุ่งยากในการใช้ระบบสารสนเทศ และผู้สอนศาสนายังไม่เปิดใจ

4.      ระบบสารสนเทศหรือฐานข้อมูลที่โรงเรียนต้องการพัฒนา และต้องการนำมาใช้
ทางโรงเรียนเสนอผู้บริหาร ในการต้องการติดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศทั้งหมดของโรงเรียน ไม่ว่าจะ รายชื่อนักเรียน รายชื่อบุคลากร
ต้องการศึกษาระบบสารสนเทศสแกนใบหน้าของเรียน เพื่อให้มีความสะดวกในโรงเรียน และที่เช็คนักเรียนเพื่อความรวดเร็ว ทันสมัยมากขึ้น
         - พัฒนาแชร์ไฟล์ข้ามโรงเรียนได้
          - สแกนใบหน้าของนักเรียน
5. ลักษณะข้อมูล และวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่โรงเรียนใช้ในปัจจุบัน
          - มีการเก็บข้อมูลเเบบเป็นเอกสารและเก็บบน DM ที่ซื้อมา
          - ต่างฝ่ายต่างเก็บข้อมูล โดยใช้ไดร์ฟในการเก็บข้อมูล
          - ยังไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในทั้งหมด
6. ระบบสารสนเทศแต่ละด้านมีการดำเนินการอย่างไร
         ทะเบียนนักเรียน ระบบเก็บข้อมูลนักเรียนจะเก็บใน DM ซึ่งเป็นระบบที่ซื้อมา
         บุคลากร ใช้ระบบ DM ในการเก็บข้อมูล
         หลักสูตร เก็บข้อมูลเป็นรูปเล่ม จะเป็นเชิงวิชาการ
         ห้องพยาบาล ยังไม่มีการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ
         กิจกรรมนักเรียน ระบบเก็บข้อมูลนักเรียนจะเก็บใน DM เป็นระบบที่ซื้อมา , มีการสำรองข้อมูลในเครื่อง
         วินัยนักเรียน ยังไม่เป็นระบบที่สมบูรณ์
7. งบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียน
             ไม่สามารบอกจำนวนเงินที่แน่นอนได้ เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ เรื่อง ของฮาร์แวร์ ซึ่งไม่สามารถจัดการเรียนได้เต็มที 



วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่7

16  มกราคม 2563


                วันที่ 16 มกราคม 2563 ซึ่งตรงกับวันครู อาจาาร์ยได้อธิบายความสำคัญของครู ในวันนนี้ได้มีการนำเสนอของกลุ่มที่1และ กลุ่มที่3 ซึ่ง
กลุ่มที่ 1 เรื่อง ค่าสถิติของการสอบ pat 5  (วิชาวัดความถนัดทางอาชีพครู) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560-2562
     -จำนวนผู้สมัคร pat5
     -ค่าเฉลี่ยคะแนนการสอบpat5
     -คะแนนสูง-ตํ่า pat5

กลุ่มที่ 3 เรื่อง นักเรียนในสถานศึกษา
        -จำนวนข้อมูลนักเรียนในสถานศึกษา
        -สาเหตุของนักเรียนชายในสถานศึกษายิ่งลดลง
        -ทำไมนักเรียนชายในสถานศึกษายิ่งลดลง
            ในระดับตัวบุคคล ,ในระดับโรงเรียน ,ในระดับประเทศ 



วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่6

 9  มกราคม  2563


                                             
    วันที่ 9  มกราคม 2563 ให้นักศึกษาทุกกลุ่มเรียนรู้นอกห้องเรียน เนื่องจากอาจารย์ติดราชการ จึงมอบหมายงานในบทที่ 2พร้อมเตรียมนำเสนอ และให้แต่ละกลุ่ม ศึกษาข้อมูลระบบบริหารโรงเรียนแต่ละโมดูลจาก
-ระบบบริหารโรงเรียนแบบบูรณาการของบริษัท Infopro  ข้าไปศึกจากลิงก์  https://www.infopro.co.th/infoproschoolcloud 
-ระบบบริหารโรงเรียน CSBIZ ข้าไปศึกจากลิงก์ http://www.techcare.co.th/cmsbiz
-ระบบบริหารโรงเรียนบริษัท MAS School  ข้าไปศึกจากลิงก์ http://www.masschool.net
   มีการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม ได้นำเสนอความคิดเห็นระหว่างภายในกลุ่ม และแบ่งการทำงานเป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจนขึ้น

ผลการเรียนรู้ครั้งที่5

2 มกราคม 2563



          2 มกราคม 2563   เป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งเป็นวันหยุดยาวตั้งแต่ วันที่ 28 - 31 ธันวาคม 2562 ถึง 3/01/2563 อาจารย์ได้ประกาศหยุดไม่มีการเรียนการสอนในวันที่02/01/2563เพื่อศึกษาข้อมูลจากระบบ NEIS เว็บไซต์ (http://www.mis.moe.go.th หรือจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์และสังเคราะห์ นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศการศึกษาที่สำคัญของประเทศการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มจากระบบ NEIS  ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและปรึกษาหารือระหว่างกัน

ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

26 ธันวาคม 2562


 26 ธันวาคม 2562 ดร.ศิริชัย นามบุรี อาจารย์ประจำรายวิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา   อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาบทที่ 1 ทำให้ได้รู้สารสนเทศและระบบสารสนเทศต่างๆ ในบทที่ 1
 Big Data คืออะไร?
Big Data คือ ปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ในบริษัทของคุณทุกรูปแบบ บริษัทหรือภายนอกก็ตาม ทั้งนี้แบ่งออกเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) และข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Unstructured Data) โดยมีองค์ประกอบ 5 V ดังนี้ :
Volume คือ ข้อมูลปริมาณมากเกินกว่าที่ฐานข้อมูลแบบเดิมจะจัดเก็บได้
Velocity คือ ข้อมูลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น Social Media, Sales Data, หุ้น ฯลฯ
Variety คือ ข้อมูลมีความหลากหลาย ทั้งตัวเลข ข้อความ อีเมล รูปภาพ เสียง วิดิโอ ฯลฯ
Veracity คือ คุณภาพข้อมูลที่ต้องมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ หากข้อมูลไร้คุณภาพก็จะส่งผลต่อการวิเคราะห์
Value คือ ความคุ้มค่าของการนำข้อมูลที่มีประโยชน์ไปใช้
              หลังจากเรียนเสร็จก็ได้ทำแบบทดสอบPretest บทที่ 2 สารสนเทศด้านการศึกษา เพื่อวัดว่านักศึกษามีความรู้รึไหม ในบทที่ 2 และให้นักศึกษาแต่ละทีมศึกษา  หรือปรึกษา ณ ห้องสมุด ตามที่ทีมได้แบ่งไว้แล้ว ศึกษาข้อมูลและสารสนเทศจากระบบ NEIS วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศการศึกษาของประเทศและจังหวัดชายแดนใต้ นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศการศึกษาที่ที่สำคัญของประเทศ โดยสร้างสไลด์สื่อนำเสนอโดยใช้เครื่องมือ Google App for Education ทำสไลด์ด้วย Google Slide แชร์ลิงก์ไฟล์นำเสนอในระบบอีเลิร์นนิ่ง และนำเสนอในวันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม 2563  เวลา 08.00-12.00 น.
              การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม ที่จะศึกษาข้อมูลและสารสรเทศจากระบบ NEIS  ทำให้เกิดมีองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย  การทำงานที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในการทำงานในครั้งหน้าได้อีกด้วย