วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4 
วันที่15 กรกฎาคม 2564













วันที่15 กรกฎาคม 2564

            ในสัปดาห์นี้เริ่มการเรียนการสอนโดยทบทวนเนื้อหาบทที่2 โดยทำกิจกรรมถามตอบในโปรแกรม kahoot
 และทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่3  และเข้าสู่บทเรียน  บทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ
   
             บทที่3อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ
ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็น นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่มีการออกแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นขั้น ตอนด้วยวิธีการเชิงระบบ โดยกำหนด วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจนสามารถวัดและประเมินผลได้การจัดการเรียนการสอนยึดตามหลักทฤษฎีทางการศึกษาและทฤษฎีการเรียนการรู้รวมถึงหลักจิตวิทยาการศึกษา การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการถ่ายโอนกลยุทธ์การสอน เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือซึ่งในปัจจุบันมักหมายถึงการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารและจัดการเรียนการสอน จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนและเรียนรู้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา เนื้อหาของบทเรียนอีเลิร์นนิ่งอยู่ในรูปแบบของสื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ออกแบบและพัฒนาไว้ในลักษณะของรายวิชาหรือคอร์แวร์(courseware) ประกอบด้วยสื่อผสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และที่สำคัญคือ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนโต้ตอบกับบทเรียนและผู้สอน ซึ่งบทบาทของผู้สอนเน้นการทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำในการเรียนมากกว่าการสอน

ลักษณะของอีเลิร์นนิ่ง
-รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสภาพแวดล้อมที่ใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-เนื้อหาและวิธีการสอนของอีเลิรน์นิ่งจะใช้สื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์(Electronics Multimedia)
-กิจกรรมการเรียนการสอนของอีเลิรน์ นิ่งได้ก าหนดวัตถุประสงค์และออกแบบไว้อย่างอย่างเป็นระบบ
-มีการจัดเตรียม เครื่องมือสนับสนุนในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับระบบ
-มีระบบบริหารการจัดการเนื้อหาและจัดการการเรียนการสอน (Learning Content Management System : LCMS) หรือ ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้(Learning Management System : LMS)
-เป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนการสอนแบบทางไกล (Distance Learning) สามารถเรียนได้ทุก สถานที่ ทุกเวลา ทุกเรื่อง
-เป็นวิธีของการศึกษาแนวใหม่ (new education approaches) เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

องค์ประกอบในการพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบอีเลร์ินนิ่งในองค์กรหรือสถาบัน (Khan)
1. ด้านวิธีสอน (Pedagogical)
2. ด้านเทคโนโลยี (Technological)
3. ด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้(Interface Design)
4. ด้านการประเมินผล (Evaluation)
5. ด้านการบริหารจัดการ (Management)
6. ด้านทรัพยากรสนับสนุน (Resource Support)
7. ด้านจริยธรรม (Ethical)
8. ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ (Institutional)

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่3

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่3

วันที่8 กรกฎาคม 2564















8 กรกฎาคม 2564
    ในสัปดาห์นี้เริ่มการเรียนการสอนโดยทบทวนเนื้อหาบทที่1 โดยทำกิจกรรมถามตอบในโปรแกรม kahoot
 และทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่2  และเข้าสู่บทเรียน  บทที่ 2 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์

     ระบบการเรียนการสอนออนไลน์    

    การเรียนทางไกล (Distance Learning)
เป็นลักษณะการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ต่างสถานที่ ส่งผ่านเนื้อหาการ
เรียนหลายรูปแบบถึงผู้เรียนด้วยช่องทางหลากหลาย
    อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) 
ในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ LMS or CMS จัดการหลักสูตร วิชา ผู้สอน ผู้เรียนประเมินผล โดยออกแบบและพัฒนาอย่างเป็นระบบเป็นห้องเรียนเสมือนหรือมหาวิทยาลัยเสมือน (ในอดีตอาจอยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบออฟไลน์ เช่น เทป วิดิทัศน์ CD-ROM
    การเรียนออนไลน์ (Online Learning)
เป็นการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น e-Learning, MOOC, m-Learning, Social Media    
    การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน (Computer-based Learning) 
หมายถึงการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ เช่น PC, Notebook,
SmartPhone, iPAD, Tablet เป็นต้น

นวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์



วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่2

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่2

วันพฤหัสบดี ที่ 1 กรกฎาคม 2564



1กรกฏาคม 2564

    ในสัปดาห์นี้ได้จัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม ZOOM ในการจัดการเรียนการสอนและอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการเรียนออลไลน์ ได้มอบหมายให้นักศึกษาสรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่2ลงในเว็บบล็อกของตนเอง และได้แบ่งกลุ่มในการทำโครงงาน
    ความหมายของการเรียนการสอน 
การเรียนการสอน หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ ด้วยวิธีการถ่ายทอด หรือวิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน โดยใช้ทั้งศาสตร์ (องค์ความรู้) และศิลป์ (เทคนิคการถ่ายทอด) ของผู้สอน
    ความหมายของการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กิจกรรมของบุคคลซึ่งมีหลักและเหตุผล เป็นกิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเอง อย่างสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้
    ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน
ระบบหรือรูปแบบการเรียนการสอน เป็นกรอบแนวทางหรือกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วยวิธีการสอน ที่ผู้สอน
ได้กําหนดหรือออกแบบไว้ ซึ่งประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน จะขึ้นกับทฤษฎีการเรียนรู้ โดยทฤษฎีการเรียนรู้เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าผู้คนจะเกิดการเรียนรู้ เกิดความรู้หรือแนวคิดใหม่