วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น

  ประเพณีของศาสนาอิสลาม

ประเพณีการเกิด

            เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ หญิงผู้มีครรภ์จะไปฝากท้องกับหมอตำแย (โต๊ะบีแด) โดยจัดเครื่องบูชาหมอ ประกอบด้วย หมาก พลู ยาเส้น และเงินตามสมควร การคลอด เมื่อถึงกำหนดคลอด ญาติหรือสามีของหญิงผู้จะคลอด จะไปตามหมอตำแยมาช่วยทำคลอดให้ที่บ้าน ก่อนคลอดต้องเตรียมของต่าง ๆ ประกอบด้วยด้ายดิบหนึ่งขด ข้าวสารจำนวนเล็กน้อย หมาก พลูและเงินตามสมควร เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว หมอตำแยจะชำระล้างทำความสะอาดตัวเด็ก ตัดและผูกสายสะดือ แล้วนำเด็กไปไว้ในถาดใบใหญ่มีผ้าปูรองรับอยู่หลายชั้น แล้วหมอตำแยจะต้มน้ำชำระร่างกายให้แก่ผู้เป็นแม่ แล้วนวดฟั้นทุกส่วนของร่างกาย เพื่อให้เลือดลมเดินสะดวก
หลัง จากต้มน้ำทำความสะอาดตัวเด็กแล้ว บิดาหรือผู้มีความรู้ทางศาสนาทำพิธีอาซานหรือบัง (พูดกรอกที่หูขวา) และกอมัต (พูดกรอกที่หูซ้าย) แก่เด็กเป็นภาษาอาหรับมีความหมายดังนี้
๑. อัลเลาะห์ผู้ยิ่งใหญ่
๒. ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์
๓. ข้าขอปฏิญาณว่านบีมูฮัมมัดเป็นทูตของท่าน
๔. จงละหมาดเถิด จงมาในทางมีชัยเถิด แท้จริงข้าได้ยืนละหมาดแล้ว อัลเลาะห์ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์

พิธีเลี้ยงรับขวัญบุตร (อาแกเกาะห์ อากีกะฮ์หรือพิธีเชือดสัตว์)



            ตามหลักศาสนาอิสลาม การเชือดสัตว์เพื่อให้สัตว์ที่ถูกเชือดนั้นไปเป็นพาหนะในโลกหน้า โดยบัญญัติให้ชาวอิสลามต้องกระทำด้วยการเชือดแพะหรือแกะที่มีอายุครบสองปี ไม่พิการ โดยกำหนดว่าถ้าได้ลูกสาว ต้องเชือดแพะหนึ่งตัว ถ้าได้ลูกชาย ต้องเชือดแพะสองตัว เนื้อแพะหรือแกะที่ถูกเชือดนั้นห้ามขายหรือให้แก่คนต่างศาสนากิน ให้จะจัดและมีขบวนแห่ใหญ่โตเชิญแขกเหรื่อให้มากินเหนียว (มาแกบูโละ) หรือบางรายจัดให้มีการแสดงมหรสพเช่น มะโย่ง ลิเกฮูดูให้ชมด้วย


วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่16

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่16
วันที่ 7 กันยายน 2564


                                                                                 


7 กันยายน 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจาร์ยได้หมอบหมายให้ทำงานกลุ่ม โดยทำเพิ่มเติมในบทที่4 - บทที่5 
    บทที่ 4  ผลการศึกษา
-ผลการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
-ผลการประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
    บทที่ 5  สรุป และข้อเสนอแนะ
-เกริ่นนำ
-ความสำคัญ
-วัตถุประสงค์
-ขั้นตอนการศึกษาโครงงาน
-สรุปผลการศึกษา
-ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
-แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู
-ข้อเสนอแนะ











วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่15

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่15
วันที่ 30 กันยายน 2564


                               


30 กันยายน 2564

                ในสัปดาห์นี้ได้มีการพัฒนาบทเรียนอิเลร์นนิ่งที่เว็บไซด์ : smp.yru.ac.th ของกลุ่มที่ 6 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่14

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่14
วันที่ 23 กันยายน 2564


                         

23 กันยายน 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจาร์ยได้หมอบหมายให้ทำงานกลุ่ม โดยทำเพิ่มเติมในบทที่4 - บทที่5 
    บทที่ 4  ผลการศึกษา
-ผลการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
-ผลการประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
    บทที่ 5  สรุป และข้อเสนอแนะ
-เกริ่นนำ
-ความสำคัญ
-วัตถุประสงค์
-ขั้นตอนการศึกษาโครงงาน
-สรุปผลการศึกษา
-ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
-แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู
-ข้อเสนอแนะ


วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่13

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่13
วันที่ 16 กันยายน 2564

                                              

16 กันยายน 2564

            ในสัปดาห์นี้ได้มีการนำเสนอความคืบหน้าของแต่ละกลุ่ม ในบทที่ 2 - บทที่ 3
กลุ่มที่1 เรื่อง 
บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
        ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์
        ระบบอีเลิร์นนิ่ง
        ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
        เนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
        งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 3  วิธีดำเนินการศึกษา
       การประเมินผล (Evaluation)
        การนำไปใช้ (Implementation)
        การพัฒนา (Development)
        การออกแบบ (Design)
        การวิเคราะห์ (Analysis) 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่12

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่12
วันที่ 9 กันยายน 2564


 9 กันยายน 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจาร์ยได้ให้เวลาในการทำโครงงานอีก 1ครั้ง เพพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป


ผลการเรียนรู้ครั้งที่11

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่11
วันที่ 2 กันยายน 2564


2 กันยายน 2564
        ในสัปดาห์อาจาร์ยได้ให้เวลาในการทำงานกลุ่ม แบ่งงานภายในกลุ่ม ทำโครงงานรายละเอียดดังนี้
บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
        ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์
        ระบบอีเลิร์นนิ่ง
        ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
        เนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
        งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 3  วิธีดำเนินการศึกษา
       การประเมินผล (Evaluation)
        การนำไปใช้ (Implementation)
        การพัฒนา (Development)
        การออกแบบ (Design)
        การวิเคราะห์ (Analysis)


ผลการเรียนรู้ครั้งที่10

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่10
วันที่ 26 สิงหาคม 2564


                                                 

 26 สิงหาคม 2564

        ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้เตรียมข้อสอบตามเรื่องของกลุ่มตัวเองมาคนล่ะ 10 ข้อ เพื่อจะฝึกปฏิบัติผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียน E- learning  และรู้จักเครื่องมือการใช้งานเบื้องต้น


วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่9

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่9
วันที่ 19 สิงหาคม 2564


                                                      
                                                


19 สิงหาคม 2564
ในสัปดาห์นี้ อาจาร์ยได้ทบทวนบทเรียนโดยการเล่นเกมส์ Kahoot ทบทวนความรู้บทที่ 4
 และฝึกปฎิบัติการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ผ่านระบบเว็บไซด์  https://smp.yru.ac.th
        โดยการให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการพัฒนาบทเรียนของกลุ่มตัวเอง รายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่8

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่8
วันที่ 12 สิงหาคม 2564


12 สิงหาคม 2564

        ในสัปดาห์งดการเรียนการสอน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง   

ผลการเรียนรู้ครั้งที่7

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่7
วันที่ 5 สิงหาคม 2564



                                                                  

5 สิงหาคม 2564
            ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม นำเสนอโครงงาน  ซึ่งมีหัวข้อย่อย ๆ ได้แก่ ความสำคัญและความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยมีทั้งหมด 6 กลุ่ม 
นำเสนอตามลำดับตามอาจารย์กำหนดไว้
        กลุ่มได้นำเสนอ มีดังนี้
 
    กลุ่ม 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

    กลุ่ม 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

    กลุ่ม 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

    กลุ่ม 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

    กลุ่ม 5 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

    กลุ่ม 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการเรียนรู้ครั้งที่6

ผลการเรียนรู้ครั้งที่6
วันที่ 29 กรกฎาคม 2564  



 29 กรกฎาคม 2564  
         ในสัปดาห์นี้ได้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย google meet ซึ่งในสัปดาห์ก่อนหน้านี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปศึกษาโครงงานที่เราจะทำหรือโครงงาน(งานกลุ่ม)และคาบเรียนได้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนและได้ทดสอบโดยใช้ kahoot อาจารย์ได้สอนคู่มือ และการใช้งานบน smp.yru.ac.th เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ในการทำโครงงาน หรือนำความรู้นั้นต่อยอดในการทำโครงงาน

         บทที่ 4 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

     การออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง
การออกแบบอีเลิร์นนิงเริ่มจากการออกแบบการเรียนการสอน  การออกแบบการเรียนการสอน : ADDIE Model และการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง

     การออกแบบการเรียนการสอน: แบบจำลอง ADDIE
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ในการออกแบบระบบการเรียนการสอน ซึ่งมักจะเขียนในรูปแบบของผังแสดงลำดับการทำงาน (Flowchart) เพื่อแสดงรูปแบบให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) โดยรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอนแบบจำลอง ADDIE 

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่5

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่5
วันที่ 22 กรกฎาคม 2564

22 กรกฎาคม 2564

        วัน ที่ 22 กรกฎาคม 2564 ตรงกับวันวันอีฎิ้ลอัดฮา เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ดำเนินการปฏิบัติตามศาสนกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาจึงประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2564 โดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป