วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4 
วันที่15 กรกฎาคม 2564













วันที่15 กรกฎาคม 2564

            ในสัปดาห์นี้เริ่มการเรียนการสอนโดยทบทวนเนื้อหาบทที่2 โดยทำกิจกรรมถามตอบในโปรแกรม kahoot
 และทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่3  และเข้าสู่บทเรียน  บทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ
   
             บทที่3อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ
ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็น นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่มีการออกแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นขั้น ตอนด้วยวิธีการเชิงระบบ โดยกำหนด วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจนสามารถวัดและประเมินผลได้การจัดการเรียนการสอนยึดตามหลักทฤษฎีทางการศึกษาและทฤษฎีการเรียนการรู้รวมถึงหลักจิตวิทยาการศึกษา การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการถ่ายโอนกลยุทธ์การสอน เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือซึ่งในปัจจุบันมักหมายถึงการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารและจัดการเรียนการสอน จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนและเรียนรู้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา เนื้อหาของบทเรียนอีเลิร์นนิ่งอยู่ในรูปแบบของสื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ออกแบบและพัฒนาไว้ในลักษณะของรายวิชาหรือคอร์แวร์(courseware) ประกอบด้วยสื่อผสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และที่สำคัญคือ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนโต้ตอบกับบทเรียนและผู้สอน ซึ่งบทบาทของผู้สอนเน้นการทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำในการเรียนมากกว่าการสอน

ลักษณะของอีเลิร์นนิ่ง
-รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสภาพแวดล้อมที่ใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-เนื้อหาและวิธีการสอนของอีเลิรน์นิ่งจะใช้สื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์(Electronics Multimedia)
-กิจกรรมการเรียนการสอนของอีเลิรน์ นิ่งได้ก าหนดวัตถุประสงค์และออกแบบไว้อย่างอย่างเป็นระบบ
-มีการจัดเตรียม เครื่องมือสนับสนุนในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับระบบ
-มีระบบบริหารการจัดการเนื้อหาและจัดการการเรียนการสอน (Learning Content Management System : LCMS) หรือ ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้(Learning Management System : LMS)
-เป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนการสอนแบบทางไกล (Distance Learning) สามารถเรียนได้ทุก สถานที่ ทุกเวลา ทุกเรื่อง
-เป็นวิธีของการศึกษาแนวใหม่ (new education approaches) เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

องค์ประกอบในการพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบอีเลร์ินนิ่งในองค์กรหรือสถาบัน (Khan)
1. ด้านวิธีสอน (Pedagogical)
2. ด้านเทคโนโลยี (Technological)
3. ด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้(Interface Design)
4. ด้านการประเมินผล (Evaluation)
5. ด้านการบริหารจัดการ (Management)
6. ด้านทรัพยากรสนับสนุน (Resource Support)
7. ด้านจริยธรรม (Ethical)
8. ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ (Institutional)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น